Blogroll

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ASEAN + 3 : Parts 1 - The 16th ASEAN+3 Finance Ministers and Central Bank Governors’ Meeting

The 16th ASEAN+3 Finance Ministers and 

Central Bank Governors’ Meeting



การประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 16
(ASEAN+3 Finance Ministers and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM+3)
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2556 ณ กรุงนิวเดลีประเทศอินเดีย  ซึ่งเป็นการประชุมที่จัดขึ้นก่อนการประชุมประจําปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชียครั้งที่ 46  โดยมีนายพีฮิน  ดาโตะ รามัน อิบราฮิม(Pehin Dato Rahman Ibrahim) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่ 2 ของบรูไน   และนายจูกวงเหยา (Zhu Guangyao) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประธานร่วมการประชุมซึ่งมีสาระสําคัญดังนี้


1. ภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาค

          ที่ประชุมได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคและเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกโดยเห็นว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน+3 จะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในปี 2556 ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก  โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคได้รับแรงสนับสนุนจากความแข็งแกร่งของอุปสงค์ภายในประเทศ   สถาบันการเงินและระบบการเงิน  ตลอดจนการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสม  อย่างไรก็ตามประเทศในภูมิภาคอาเซียน+3 ยังจะต้องเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจ  จากความเสี่ยงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพคล่องทางการเงินของโลกที่มีอยู่ในระดับสูง    เนื่องจากการดําเนินนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายของประเทศพัฒนาแล้ว   เช่น  ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของสินเชื่อ  ปัญหาฟองสบู่และความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย  ซึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงินของภูมิภาคทั้งนี้ประเทศสมาชิกจะให้ความสําคัญต่อการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ  ตลอดจนการยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินเพื่อรักษาอัตราการเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

2. ความคืบหน้าของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM)

          ที่ประชุมได้หารือความคืบหน้าการแก้ไขความตกลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกความช่วยเหลือทางการเงินระหว่างกันและกันของประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน+3 หรือ มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) ตามมติที่ประชุมฯเมื่อปีที่แล้วที่กําหนดให้

(1) เพิ่มขนาดของ CMIM เป็น 2 เท่า จากเดิม 120 พันล้านเหรียญสหรัฐเป็น 240 พันล้านเหรียญสหรัฐ

(2) เพิ่มสัดส่วนการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน  ส่วนที่ไม่เชื่อมโยงกับเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF Delinked Portion) เพื่อลดการพึ่งพากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ในยามวิกฤต

(3) การจัดตั้งกลไกให้ความช่วยเหลือช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ (Crisis Prevention Facility) เพื่อป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นและป้องกันการลุกลามไปยังประเทศสมาชิกอื่นๆในภูมิภาค   ซึ่งภายหลังจากนี้ประเทศสมาชิกจะดําเนินกระบวนการภายในประเทศเพื่อเข้าร่วมลงนามในความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขนี้โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2556 นี้

3. สํานักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO)

          ที่ประชุมเห็นชอบให้ยกระดับสํานักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO) เป็นองค์การระหว่างประเทศโดยให้มีสถานะความสําคัญและได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เท่าเทียมกับองค์การระหว่างประเทศทางการเงินอื่นๆ เช่น IMF และธนาคารพัฒนาเอเชีย ทั้งนี้ AMRO จะเป็นองค์การการเงินระหว่างประเทศองค์การแรกที่จัดตั้งโดยอาเซียน+3 ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างบทบาทของ AMRO ในการวิเคราะห์สถานการณ์และระวังภัยทางเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียน+3 ในเวทีโลก

4. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเซีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI)

           ที่ประชุมได้ติดตามการดําเนินงานของมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเซีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นของภูมิภาคอาเซียน+3 ให้มีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพสามารถเป็นแหล่งระดมเงินทุนและเป็นทางเลือกในการออมของภูมิภาคโดยมีประเด็นหลักได้แก่

 1) ความสําเร็จของกลไกการค้ําประกันเครดิตและการลงทุน (Credit Guarantee and Investment Facility: CGIF) ของภูมิภาคอาเซียน+3 ซึ่งบริษัทเอกชนที่ CGIF ให้การค้ําประกันเครดิตในการออกพันธบัตรได้ออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในประเทศไทยได้สําเร็จแล้วเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2556 โดยมีมูลค่า 2,850 ล้านบาทหรือประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งถือเป็นความสําเร็จครั้งสําคัญของความร่วมมือในการพัฒนาตลาดพันธบัตรของภูมิภาคอาเซียน+3

2) การให้ความเห็นชอบ การศึกษาความเป็นไปได้เรื่องการพัฒนาตลาดพันธบัตรเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Fostering Infrastructure Financing Bonds Development) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนด้านการเงินสําหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ซึ่งนายกิตติรัตนฯได้กล่าวสนับสนุนการศึกษาดังกล่าวโดยเห็นว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีความสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของภูมิภาคและในขณะนี้อาเซียน+3 มีเงินออมในภูมิภาคเป็นจํานวนมาก   จึงควรมีการหาแนวทางในการนําเงินออมเหล่านั้นมาลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศสมาชิก

5. ผลการศึกษาของคณะ Research Group ประจําปี 2012-2013

          ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาของคณะ Research Group ประจําปี 2012-2013 ได้แก่   เรื่องการพัฒนาโครงสร้างและเสริมสร้างประสิทธิภาพของหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือของภูมิภาคอาเซียน+3 และให้ความเห็นชอบหัวข้อการศึกษาของ Research Group ประจําปี 2013-2014 ได้แก่

1) การศึกษาเพื่อนําเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการพัฒนาตลาดการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (The Policy Recommendations for the Expansion of the Securitization Market in the ASEAN+3 Countries)

2) การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและภัยคุกคามของโครงสร้างตลาดทุนอาเซียน+3 (SWOT Analysis on Capital Market Infrastructure in ASEAN+3)

6. ความร่วมมือใหม่ 3 ด้านของอาเซียน+3 เพื่อขยายขอบข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาคในอนาคต

           ที่ประชุมได้รับทราบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษาความเป็นไปได้ ของความร่วมมือใหม่ 3 ด้านของอาเซียน+3 เพื่อขยายขอบข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาคในอนาคตได้แก่

(1) ความร่วมมือทางการเงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาค

(2) การใช้เงินสกุลของภูมิภาค (Regional Currencies) สําหรับ การค้าขายและการลงทุนในภูมิภาค

(3) การจัดตั้งกลไก/กองทุนการประกันภัยที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Disaster Insurance Scheme) ทั้งนี้คาดว่าจะมีข้อสรุปนโยบายความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องดังกล่าวได้ภายในปีนี้

7. การประชุม AFMGM+3 ครั้งต่อไป

           ที่ประชุมมีมติให้การประชุม AFMGM+3 ครั้งต่อไปในปี2014  จะจัดขึ้น ณ กรุงอัสตานา  ประเทศคาซัคสถาน โดยมีประเทศเมียนมาร์และประเทศญี่ปุ่นทําหน้าที่เป็นประธานร่วม

Resource from: 

6 May 2012 by Ministry of finance




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น