Blogroll

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความขัดแย้งและจลาจลในพม่ายังคงดำรงอยู่ กรณี Lashio Myanmar in May 2013 !

ความขัดแย้งและจลาจลในพม่ายังคงดำรงอยู่ : 
กรณี Lashio Myanmar in May 2013 !
Security forces struggled to control Buddhist mobs who burned Muslim homes on Wednesday for a second day in the northern Myanmar city of Lashio in a dangerous widening of ultra-nationalist Buddhist violence.

Scores of young men and boys on motorbikes and on foot marauded through the city of 130,000 people, some singing nationalist songs, a day after a mosque and religious school were torched.

One person was killed and four were wounded in fighting, Ye Htut, spokesman for President Thein Sein, said in a Facebook post. Police fired guns to disperse the crowds, he said.

The violence in this city in a mountainous region near Myanmar's northeastern border with China, about 700 km (430 miles) from the commercial capital Yangon, shows how far anti-Muslim anger is spreading in the Buddhist-dominated country.



The religious unrest erupted in western Rakhine State last year and spread into the central heartlands and areas near Yangon this year.
The unleashing of ethnic hatred since 49 years of military rule ended in March 2011 raises questions over whether the reformist Thein Sein has full control over security forces as Myanmar sees its most dramatic changes since a coup in 1962.
By early evening, Muslims shops and homes were still burning in one quarter of Lashio. There was no sign of Muslim residents.
"I don't know where the Muslims are. They all ran away," said Kyaw Soe Win, a Buddhist resident of the mixed neighborhood where motorbikes and household possessions lay burning in the streets. Nearby, a man with a sword and a stick combed through the remains of a burned-out shop.
In other regions, such as Rakhine State where hundreds were killed last year, and in the central city of Meikhtila where at least 44 people died in March, there have been signs of ethnic cleansing, and of impunity for those inciting it.
Lashio is a test of whether the government can bring the widening anti-Muslim unrest under control.
As in Meikhtila, journalists were attacked. Two freelance reporters working for The Democratic Voice of Burma (DVB) were beaten as a mob looted a restaurant, the Norway-based broadcaster said. Memory cards from their cameras were taken.
"I got beat up and left with a bleeding head and my colleague also took a hit on the back. We were just watching the situation with cameras around our necks when a large group of people arrived on motorbikes and started attacking us," one of the reporters was quoted by DVB as saying.

SHOPS GUTTED
State television said a mosque, a Muslim religious school and a number of shops were gutted by fires started on Tuesday by Buddhists who rampaged after hearing reports of a Muslim man setting a Buddhist woman on fire and badly wounding her. State media said calm had returned by Wednesday.
Myanmar, where Muslims make up about 5 percent of the 60 million population, has struggled with the unrest since June last year when fighting between ethnic Rakhine Buddhists and Muslim Rohingya erupted in western Rakhine State.
That was followed by organized Rakhine attacks on Rohingya communities in October that New York-based Human Rights Watch said amounted to ethnic cleansing. The government calls the stateless Rohingya illegal "Bengali" immigrants from neighboring Bangladesh.
British tourist Stephen Barker, 46, told Reuters he saw a group of about 100 machete and stick-carrying youths rallying around his hotel in the early afternoon, including four or five monks. Police and military moved them on and arrested half a dozen people.
"I got a light for my cigarette from one and he told me to kill all Bengalis while waving this 18-inch blade around."
Tuesday's unrest in Lashio was sparked by a quarrel between two people, named by state media as Aye Aye Win, 24, a Buddhist woman who sold petrol, and Ne Win, a Muslim man aged 48.
MRTV television said Ne Win poured petrol over Aye Aye Win and set her on fire. She was in hospital, it said.
After police detained Ne Win, Buddhists surrounded the police station and demanded he be handed over. When they refused, the crowd went on the rampage, attacking Myoma Mosque near Lashio market, residents said.

The authorities attempted to restore order late on Tuesday by banning unlawful assembly under a state of emergency. That's a faster response than in Meikhtila, where it took three days of fighting before such an order was imposed.

Resource from:
by Aung Hla Tun in Yangon; Editing by Jason Szep and Pravin Char

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Global Econmy : OECD Economic Outlook 2013

Global Econmy : OECD Economic Outlook 2013


While still disappointing, the global economy is moving forward, and it is doing so at multiple speeds. These multiple speeds reflect different paths towards self-sustained growth, with each path carrying its own mix of risks.




Resource from:

http://www.oecd.org/eco/economicoutlook.htm

AEC กับจุดอ่อนในการรวมตัวของอาเซียน

AEC กับจุดอ่อนในการรวมตัวของอาเซียน




เมื่อย้อนกลับไปซัก 10 ปีที่แล้วที่ดิฉันตัดสินใจไปเรียนต่อโทและเอกในสาขา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ดิฉันเคยโดนถามจากอาจารย์และเพื่อนๆ หลายคนว่าจะไปเรียนทำไม ในช่วงเวลานั้น  คนไทยส่วนน้อยมากที่จะทราบว่า ASEAN คืออะไร และทำหน้าที่อะไร บางครั้งดิฉันต้องเสียเวลาอธิบายอ
ยู่นานว่าอาเซียนคืออะไร

จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ผู้คนส่วนใหญ่เริ่มทราบมากขึ้นว่าASEAN มีบทบาทอย่างไรต่อภูมิภาค และเริ่มให้ความสนใจมากขึ้นเป็นลำดับ  ยิ่งรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆของบ้านเราให้ความสำคัญกับการเปิดประชาคมอาเซียน รวมทั้งการเตรียมพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วยแล้ว ทำให้ยุคของอาเซียนในประเทศไทยยิ่งเฟื่องฟูมากขึ้นไปอีก ดิฉันคิดว่ามากกว่าประเทศเพื่อนบ้านเราประเทศอื่นๆมากนัก
 

หน่วยงานต่างๆ ก็เร่งให้ความรู้ต่อบุคลากรของตน ให้ผิดบ้างให้ถูกบ้าง คละเคล้ากันไป !
 

แม้ว่าการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนจะนำมาซึ่งความแข็งแกร่งของภูมิภาคในเวทีโลกทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ในความเป็นจริงแล้วการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนไม่ได้โปรยด้วยกลีบกุหลาบ 

สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ ความแตกต่างในด้านต่างๆของสมาชิกในกลุ่มอาเซียน เช่น ความหลากหลายในชาติพันธุ์ เชื้อชาติ และ ภาษา จำนวนภาษาที่มีใช้อยู่ในอาเซียนคิดเป็นร้อยละ 17 ของภาษาที่มีใช้อยู่ในโลก ความแตกต่างทางวัฒนธรรมเหล่านี้ย่อมส่งผลถึงความแตกต่างทางแนวคิด วิถีชีวิต การทำงาน และบุคลิกของประชาชนในอาเซียนด้วย


ยกตัวอย่างเช่น คนสิงคโปร์ มีกฎระเบียบที่เคร่งครัด ไม่มีการยืดหยุ่น ชาวเวียดนามต้องผ่านสงครามมาหลายครั้งมีความกระตือรือร้น และมีวินัยสูง ส่วนคนไทยและฟิลิปปินส์ มีลักษณะคล้ายกันคือ ไม่ค่อยทำตามกฎที่วางไว้ ส่วนประเทศ อินโดนีเซีย กัมพูชา และลาว การทำงานขาดความกระตือรือร้น และการตัดสินใจในเรื่องต่างๆก็ล่าช้า  

นอกจากวิถีชีวิตทั่วไปแล้ว ด้านการศึกษา และเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกก็มีช่องว่างที่ต่างกันมาก เช่น สิงคโปร์มีนโยบายการศึกษา Teach Less, Learn More หรือ TLLM คือให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตัวเองนอกห้องเรียนมากกว่าให้ครูเป็นคนสอน ในขณะที่พม่า ไทย และ ลาว นั้นยังคงเน้นการเรียนรู้ภายในชั้นเรียน ให้ท่องจำมากกว่าให้รู้จัดคิดวิเคราะห์ จึงเห็นได้ว่านักเรียนจาก 3 ประเทศนี้ไม่ค่อยกล้าแสดงออกเหมือนนักเรียนจากสิงคโปร์ เป็นต้น 



จากความแตกต่างเหล่านี้จึงทำให้เห็นว่าการพัฒนาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด แม้ว่าการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นอาจส่งผลต่อการขยายตลาดทางเศรษฐกิจให้กับประเทศสมาชิก แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีจุดอ่อนอยู่หลายประการอันเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสำเร็จของประชาคม และอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพของประชาชน รวมทั้งการลงทุนและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในประเทศอีกด้วย 


ความแตกต่างของประเทศสมาชิกที่อาจกลายเป็นจุดอ่อนสำคัญต่อของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประการแรก คือ ความแตกต่างทางสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก หากเปรียบเทียบรายได้ของประชาชนในประเทศสมาชิก หรือ GDP Per Capita จะพบว่าช่องว่างระหว่างประเทศที่รวยที่สุด และจนที่สุดมีความแตกต่างกันมาก ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีรายได้ต่อคนต่อปีเฉลี่ยที่ระดับ 50,714 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปี 2554 ที่ผ่านมากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund หรือ IMF) จัดให้เป็นประเทศที่คนร่ำรวยเป็นอันดับที่ 11 ของโลก จากการจัดอันดับทั้งหมด 183 ประเทศ รองลงมาคือ บรูไน ($36,521 อันดับที่ 25) มาเลเซีย ($8,617 อันดับที่ 67) ประเทศไทย ($5,281 อันดับที่ 89) อินโดนีเซีย ($3,469 อันดับที่ 107) ฟิลิปปินส์ ($2,255 อันดับที่ 125) เวียดนาม ($1,362 อันดับที่ 140) ลาว ($1,204 อันดับที่ 144) กัมพูชา ($912 อันดับที่ 152)


และอันดับสุดท้าย คือประเทศพม่าที่มีระดับรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี ที่ระดับ 804 ดอลลาร์สหรัฐ และอยู่ที่อันดับ 156 ของโลก  ตัวเลขทาง GDP แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจับจ่ายของประชาชนในแต่ละประเทศ ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นสิงคโปร์มีความสามารถในการจับจ่ายมากกว่าประเทศพม่าอยู่หลายเท่า 

นอกจากนี้ สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP ได้การคำนวณ Human Development Index ของ 187 ประเทศทั่วโลกขึ้น เพื่อเปรียบเทียบระดับการพัฒนาและการลงทุนในการพัฒนาศักยภาพของประชาชนของประเทศ  โดยแบ่งระดับการพัฒนาเป็น 4 ระดับ คือ ระดับพัฒนาสูงมาก  ระดับพัฒนาสูง พัฒนาปานกลาง และ พัฒนาระดับต่ำ (Low Human Development)จากรายงานดังกล่าวพบว่า สิงคโปร์ และบรูไนติดอันดับประเทศที่มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับสูงสุด ในอันดับที่ 26 และ 33 ตามลำดับ มาเลเซียอยู่ลำดับที่ 66 ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับสูง


ในขณะที่บ้านเรา อยู่ในระดับกลาง ที่อันดับที่ 103 โดยมีพม่าอยู่อันดับที่ 149 ซึ่งถือว่ามีระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับต่ำ จึงเห็นได้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนมีความแตกต่างในด้านสถานะทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาเป็นอย่างมากซึ่งถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป

จุดอ่อนประเด็นที่ 2 คือ ความแตกต่างในระบบการเมือง การปกครอง ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศมีระบอบการปกครองที่แตกต่างกัน บางประเทศเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย เช่น ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ บางประเทศมีการปกครองแบบอำนาจนิยม เช่นสิงคโปร์ และ กัมพูชา บางประเทศเป็นการปกครองแบบรัฐบาลทหาร เช่น พม่า นอกจากนี้บางประเทศยังมีการปกครองแบบรัฐรวมศูนย์ แต่บางประเทศเป็นการปกครองแบบกระจายอำนาจเป็นต้น ความแตกต่างในการเมือง การปกครองนี้ ทำให้อำนาจในการสั่งการของรัฐบาล และการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมย่อมแตกต่างกันไป การจะพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เท่าเทียมกันเพื่อลดช่องว่างความยากจนของประเทศสมาชิกนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมในแนวทางเดียวกัน 


รัฐบาลของอาเซียนทั้ง 10 ประเทศมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนในการปรับนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของตนไปในทิศทางเดียวกับประเทศสมาชิกอื่น เป็นการยากที่ประเทศที่มีพื้นฐานทางการเมืองการปกครอง และระบบการปกครองที่ต่างกันจะปรับนโยบายมาในทิศทางเดียวกันซึ่งถือเป็นการท้าทายที่สำคัญยิ่งของอาเซียน

จุดอ่อนที่ 3 คือ การตัดสินใจในนโยบายต่างๆโดยใช้ระบบฉันทามติ หรือ Consensus ระบบฉันทามตินี้ได้มีการใช้ภายในกลุ่มสมาชิกอาเซียนเพื่อการตัดสินใจในนโยบายต่างๆตั่งแต่มีการก่อตั้งอาเซียน กล่าวคือนโยบายต่างๆที่กำหนดขึ้นนั้นจะเป็นที่ยอมรับ และปฏิบัติจริงระหว่างประเทศสมาชิกก็ต่อเมื่อทุกประเทศเห็นพ้องร่วมกัน หรือมีฉันทามติร่วมกัน หากมีประเทศใดประเทศหนึ่งคัดค้านก็ถือว่านโยบายนั้นเป็นอันตกไป  ลักษณะการตัดสินใจเช่นนี้อาจเป็นอุปสรรคของสมาชิกอาเซียนในการดำเนินนโยบายร่วมกัน นโยบายหนึ่งอาจให้ประโยชน์กับหลายประเทศ  แต่หากขัดผลประโยชน์ประเทศสมาชิกใดและประเทศนั้นไม่ลงมติเห็นชอบด้วยแล้ว นโยบายนั้นก็จะเป็นอันตกไปซึ่งนโยบายดังกล่าวอาจส่งผลต่อการพัฒนาของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยรวม 

ดังนั้นอาเซียนควรพิจารณารูปแบบการตัดสินใจแบบอื่นๆ ในการพิจารณาการกำหนดนโยบาย หรือตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมภายในของอาเซียน เช่น อาจนำระบบเสียงส่วนใหญ่ (Majority vote) มาใช้กับกระบวนการตัดสินใจของอาเซียน แต่สมาชิกคงต้องหารือที่จะกำหนดแนวทางและขอบเขตของระบบเสียงส่วนใหญ่ เพื่อให้มีความชัดเจนและโปร่งใสในการพิจารณาเรื่องสำคัญๆ ที่ประเทศสมาชิกจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน การใช้ระบบเสียงส่วนใหญ่จะช่วยผลักดันนโยบายของอาเซียน และ AEC ให้เป็นรูปธรรมได้มากขึ้น และนำมาซึ่งการพัฒนาขององค์กรโดยรวมต่อไป

Resource From:
by พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มติการประชุมร่วม ไทย-กัมพูชา ( 27 May 2013)


มติการประชุมร่วม ไทย-กัมพูชา ( 27 May 2013)



เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนสรุปการประชุมเตรียมการฝ่ายไทยครั้งที่ ๓ สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านการพัฒนาพื้นที่ชายแดนและการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมไทย – กัมพูชา ดังนี้

๑. รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธานการประชุมเตรียมการฝ่ายไทยครั้งที่ ๓ โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ เข้าร่วมประกอบด้วยพลอากาศเอกสุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชัชจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานต่าง ๆ

๒. ที่ประชุมได้หารือแนวทางการเสริมสร้างและพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย – กัมพูชา และได้สรุปประเด็นที่จะนำไปหารือกับคณะทำงานของฝ่ายกัมพูชา ประกอบด้วย

•   การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไทย – กัมพูชา ในเบื้องต้นจะมีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม ๒ พื้นที่ บริเวณอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ถึงอำเภอปอยเปต จังหวัดบันเตียเมียนเจย และบริเวณจังหวัดตราดถึงจังหวัดเกาะกง
•   การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่การพัฒนาทางหลวงหมายเลข ๕ หมายเลข ๖ และหมายเลข ๔๘ (เกาะกง – สแรอัมเบิล) การพัฒนาเส้นทางรถไฟที่ขาดหายไป ๒ ช่วง คือระหว่างอรัญประเทศ – คลองลึก ระยะทาง ๖ กิโลเมตร และระหว่างปอยเปต – ศรีโสภณ ระยะทาง ๔๘ กิโลเมตร และการพัฒนาจุดผ่านแดนบริเวณบ้านหนองเอี่ยน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ถึงบริเวณบ้านสตึงบท จังหวัดบันเตียเมียนเจย
•    การพัฒนาสาธารณูปโภคและความร่วมมือด้านพลังงาน เพื่อต่อยอดโครงการความร่วมมือด้านพลังงานกับกัมพูชา ได้แก่โครงการขายไฟฟ้าให้กัมพูชาเพิ่มจาก ๘๐ เมกะวัตต์เป็น ๑๒๐ เมกะวัตต์ โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำสตึงเมนัม และโครงการโรงผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินที่จังหวัดเกาะกง
•    การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ใน ๕ แนวทาง ได้แก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านสาธารณสุข การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานกัมพูชา การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยชายแดนกัมพูชา โครงการศูนย์แรกรับเหยื่อการค้ามนุษย์และกลุ่มเสี่ยงที่จังหวัดบันเตียเมียนเจย และการสานต่อโครงการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบนถนนเชื่อมโยงไทย – กัมพูชา
•    การสร้างงานและรายได้ให้แก่ประชาชนกัมพูชา ใน ๕ ด้าน ได้แก่การอำนวยความสะดวกด้านปัจจัยการผลิตสำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร การกำหนดนโยบายการค้าและการลงทุน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาการผลิตที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมอุตสาหกรรมจากทรัพยากรธรรมชาติ และการบูรณาการการท่องเที่ยว


ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะนำคณะผู้แทนฝ่ายไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ กรุงพนมเปญ โดยนายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา จะเป็นประธานร่วม

Lao Higher Education : Many colleges need extensive improvement

Lao Higher Education : 

Many colleges need extensive improvement

Many colleges will need to undergo intensive improvement to meet certain criteria before the start of the next academic year in October, a senior government official has said.
The Ministry of Education and Sports is launching an intensive assessment and improvement of both state and private colleges and universities in Vientiane in a bid to improve the quality of teaching and learning. There are more than 50 colleges and universities in the capital, which are currently being scrutinised.
Director General of the National Education Standard and Quality Assessment Centre at the Ministry of Education and Sports, Mr Vanxay Noraseng, told Vientiane Times yesterday that officials in charge completed their inspection in April.
“Many colleges will need to undergo rigorous improvement,” he said. He added that these colleges are afflicted by substandard teaching and inadequate learning equipment. Many lack proper laboratories and have insufficiently qualified teachers.
The director said the details of the inspection will be made public soon, including the number of colleges that need to make improvements. “The findings will be tabled at a meeting of the ministry's leading officials before being announced to the public. For sure, the results will be made public.”
The ministry's leading officials were scheduled to hold their first discussion on May 29 and the second early next month to discuss the matter before announcing the findings at a later date.
Deputy Minister of Education and Sports Dr Kongsy Sengmany told the Vientiane Times recently that the ministry will launch an assessment and improvement drive in the provinces in the coming years after finishing the work in Vientiane.
This process forms part of the national education reform strategy which was initiated in 2006. The standard criteria imposed by the ministry include the quality of facilities (buildings) and the number of regular and invited teachers and their qualifications.
The ministry will also assess every single course run by these colleges and universities and those courses that fail to meet the set criteria will need to be upgraded.
Critics and members of the public have complained about the low standard of teaching and learning in many colleges, which turn out poorly trained personnel who turn out to be incompetent and cannot carry out their professional roles as required.
This poses a great challenge for Laos now and in the future, especially when the Asean Economic Community comes into effect in 2015. The free flow of foreign workers is expected to see outsiders take over jobs in Laos if the skills of local people are not competitive because of poor education standards.

Resource from:
24 May 2013


วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Asean + 3 : Parts 4 ; อาเซียนขึ้นแท่นคู่ค้าอันดับหนึ่งของมณฑลฝูเจี้ยน ในไตรมาสที่ 1/ 56

อาเซียนขึ้นแท่นคู่ค้าอันดับหนึ่งของมณฑลฝูเจี้ยน 

ในไตรมาสที่ 1/ 56


6 พ.ค. 56 (www.chinanews.com) – รายงานข่าวอ้างอิงข้อมูลจากศุลกากร นครฝูโจว ระบุว่ามูลค่าการค้าระหว่างประเทศของมณฑลฝูเจี้ยนในไตรมาสแรกปีนี้มีมูลค่ารวม 248,320 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.8 ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นการส่งออก 152,350 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 และการนำเข้า 95,970 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 โดยอาเซียนสามารถเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของฝูเจี้ยนแทนที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

ในไตรมาสแรกของปี 2556 การค้าระหว่างประเทศของมณฑลฝูเจี้ยนและอาเซียนมีมูลค่า 5,610 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 การค้ากับสหรัฐฯ 5,480 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 การค้ากับสหภาพยุโรป 5,150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 การค้ากับไต้หวัน 3,290 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 การค้ากับเขตบริหารพิเศษฮ่องกง 2,610 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว


จากข้อมูลตัวเลขการค้าของศุลกากร เมื่อจัดเป็นประเภทสินค้าพบว่าสินค้าที่มณฑลฝูเจี้ยนส่งออกไปยังต่างประเทศที่สำคัญ ประกอบด้วย สินค้าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เทคโนโลยีระดับสูง สินค้าเกษตร และรองเท้า โดยที่เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มมีการเจริญเติบโตสูงที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง ร้อยละ 41.5 สำหรับสินค้านำเข้าของฝูเจี้ยนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น คือ สินค้าอุตสาหกรรมจำพวกเครื่องจักรกลและไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 22.5 และถั่วเหลืองที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.1
การค้าระหว่างประเทศระหว่างมณฑลต่าง ๆ ของจีนกับอาเซียนได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมาตั้งแต่มีการลงนามความร่วมมือการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Agreement) ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยปัจจุบันมีการเปิดเสรีการค้าสินค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน เริ่มต้นด้วยการลดภาษีผักผลไม้ระหว่างกันตั้งแต่ตุลาคม 2546 และทยอยเปิดเสรีสินค้าอื่น ๆ เพิ่มเติมตามลำดับ โดยนับตั้งแต่ปี 2553 อาเซียนกับจีนได้ยกเลิกภาษีระหว่างกันกว่าร้อยละ 90 ของประเภทรายการสินค้าทั้งหมด

Resource from :



Asean + 3 : Parts 3 ; Asean และ มณฑลเจียงซี ขยายการค้าอย่างรวดเร็ว ; อาเซียนกลายเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของมณฑล โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 179.2 ในไตรมาสที่ 1 / 56

ASEAN + 3 : Parts 3 ; มณฑลเจียงซี



8 พ.ค. 56 (www.jx.chinanews.com) - รายงานข่าวอ้างอิงตัวเลขจากกรมการค้า ประจำมณฑลเจียงซี ระบุว่าไตรมาสแรก ปี 2556 อาเซียนเบียดสหภาพยุโรปขึ้นแท่นกลายเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของมณฑล โดยมียอดมูลค่าการส่งออกไปยังอาเซียนรวม 1,302 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 179.2




จากข้อมูลตัวเลขที่ประกาศออกมาล่าสุด มณฑลเจียงซีมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม 9,000ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64 แบ่งเป็นการส่งออก 7,160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.5 และนำเข้า 1,840 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4
สำหรับหมวดสินค้าที่มียอดส่งออกเติบโตอย่างชัดเจน คือ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มที่มีมูลค่าส่งออกถึง 1,075 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.64 กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญลำดับที่สองรองจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

ปฏิเสธไม่ได้ว่า สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาในกลุ่มประเทศยุโรปส่งผลให้นักธุรกิจจีนจำนวนไม่น้อยเริ่มเบนเข็มการค้าการลงทุน โดยให้ความสำคัญกับภูมิภาคอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ข้อตกลงการค้าเสรีจีน - อาเซียนได้ช่วยให้การค้าระหว่างมณฑลเจียงซีและอาเซียนเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งแม้ว่าในทางนโยบายเศรษฐกิจมหภาค จีนจะประกาศว่าต้องการลดการพึ่งพาจากต่างชาติโดยจะให้ความสำคัญกับการส่งออกน้อยลงแล้วหันมากระตุ้นการบริโภคในประเทศให้มากขึ้น แต่ข้อตกลงการค้าเสรีจีน – อาเซียน รวมถึงข้อตกลงการค้าเสรีที่จีนได้ทำไว้กับอีกหลายประเทศได้ผลักดันให้การส่งออกของจีนยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

Resource from:

Asean + 3 : Parts 2 ; มูลค่าการค้าต่างประเทศยูนนานไตรมาสแรก ปี 56 เติบโตร้อยละ 45.5

มูลค่าการค้าต่างประเทศมณฑลยูนนาน

ไตรมาสแรก ปี 56  เติบโตร้อยละ 45.5



ศุลกากรนครคุนหมิงเปิดเผยสถิติว่า ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556 มณฑลยูนนานมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศจำนวน 4,520 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 45.2 (อัตราการขยายตัวทั้งประเทศอยู่ที่ร้อยละ 13.4) อัตราการขยายตัวนี้สูงเป็นอันดับ 7 ของจีน

โดยเครื่องจักรกลเป็นสินค้าที่มีปริมาณการส่งออก-นำเข้าสูงเป็นอันดับ 1 แบ่งเป็นการส่งออกเครื่องจักรกลมูลค่า 720 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.2 เท่า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด และการนำเข้าเครื่องจักรกลมูลค่า 460 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4 เท่า ในขณะที่สินค้าเกษตรอยู่ในอันดับที่ 2 แบ่งเป็นการส่งออกสินค้าเกษตร 400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 และการนำเข้าสินค้าเกษตร 390 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 

นอกจากนี้คู่ค้าอันดับ 1 ของมณฑลยูนนานได้แก่ อาเซียน ด้วยมูลค่า 1,700 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.6 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของมณฑลยูนนาน ตามมาด้วยอันดับ 2 ฮ่องกงที่มีมูลค่าการค้า 900 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.3 เท่า และอันดับ 3 ไต้หวันที่มีมูลค่าการค้า 360 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.4 เท่า

คู่ค้าสำคัญอย่างยุโรปมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มูลค่าการค้าระหว่างมณฑลยูนนานกับออสเตรเลีย อเมริกา และญี่ปุ่น ล้วนหดตัวลง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเอเชียใต้ที่มีมูลค่าการค้า 37.32 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5

Resource from:



ASEAN + 3 : Parts 1 - The 16th ASEAN+3 Finance Ministers and Central Bank Governors’ Meeting

The 16th ASEAN+3 Finance Ministers and 

Central Bank Governors’ Meeting



การประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 16
(ASEAN+3 Finance Ministers and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM+3)
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2556 ณ กรุงนิวเดลีประเทศอินเดีย  ซึ่งเป็นการประชุมที่จัดขึ้นก่อนการประชุมประจําปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชียครั้งที่ 46  โดยมีนายพีฮิน  ดาโตะ รามัน อิบราฮิม(Pehin Dato Rahman Ibrahim) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่ 2 ของบรูไน   และนายจูกวงเหยา (Zhu Guangyao) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประธานร่วมการประชุมซึ่งมีสาระสําคัญดังนี้


1. ภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาค

          ที่ประชุมได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคและเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกโดยเห็นว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน+3 จะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในปี 2556 ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก  โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคได้รับแรงสนับสนุนจากความแข็งแกร่งของอุปสงค์ภายในประเทศ   สถาบันการเงินและระบบการเงิน  ตลอดจนการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสม  อย่างไรก็ตามประเทศในภูมิภาคอาเซียน+3 ยังจะต้องเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจ  จากความเสี่ยงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพคล่องทางการเงินของโลกที่มีอยู่ในระดับสูง    เนื่องจากการดําเนินนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายของประเทศพัฒนาแล้ว   เช่น  ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของสินเชื่อ  ปัญหาฟองสบู่และความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย  ซึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงินของภูมิภาคทั้งนี้ประเทศสมาชิกจะให้ความสําคัญต่อการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ  ตลอดจนการยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินเพื่อรักษาอัตราการเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

2. ความคืบหน้าของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM)

          ที่ประชุมได้หารือความคืบหน้าการแก้ไขความตกลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกความช่วยเหลือทางการเงินระหว่างกันและกันของประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน+3 หรือ มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) ตามมติที่ประชุมฯเมื่อปีที่แล้วที่กําหนดให้

(1) เพิ่มขนาดของ CMIM เป็น 2 เท่า จากเดิม 120 พันล้านเหรียญสหรัฐเป็น 240 พันล้านเหรียญสหรัฐ

(2) เพิ่มสัดส่วนการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน  ส่วนที่ไม่เชื่อมโยงกับเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF Delinked Portion) เพื่อลดการพึ่งพากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ในยามวิกฤต

(3) การจัดตั้งกลไกให้ความช่วยเหลือช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ (Crisis Prevention Facility) เพื่อป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นและป้องกันการลุกลามไปยังประเทศสมาชิกอื่นๆในภูมิภาค   ซึ่งภายหลังจากนี้ประเทศสมาชิกจะดําเนินกระบวนการภายในประเทศเพื่อเข้าร่วมลงนามในความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขนี้โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2556 นี้

3. สํานักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO)

          ที่ประชุมเห็นชอบให้ยกระดับสํานักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO) เป็นองค์การระหว่างประเทศโดยให้มีสถานะความสําคัญและได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เท่าเทียมกับองค์การระหว่างประเทศทางการเงินอื่นๆ เช่น IMF และธนาคารพัฒนาเอเชีย ทั้งนี้ AMRO จะเป็นองค์การการเงินระหว่างประเทศองค์การแรกที่จัดตั้งโดยอาเซียน+3 ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างบทบาทของ AMRO ในการวิเคราะห์สถานการณ์และระวังภัยทางเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียน+3 ในเวทีโลก

4. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเซีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI)

           ที่ประชุมได้ติดตามการดําเนินงานของมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเซีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นของภูมิภาคอาเซียน+3 ให้มีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพสามารถเป็นแหล่งระดมเงินทุนและเป็นทางเลือกในการออมของภูมิภาคโดยมีประเด็นหลักได้แก่

 1) ความสําเร็จของกลไกการค้ําประกันเครดิตและการลงทุน (Credit Guarantee and Investment Facility: CGIF) ของภูมิภาคอาเซียน+3 ซึ่งบริษัทเอกชนที่ CGIF ให้การค้ําประกันเครดิตในการออกพันธบัตรได้ออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในประเทศไทยได้สําเร็จแล้วเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2556 โดยมีมูลค่า 2,850 ล้านบาทหรือประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งถือเป็นความสําเร็จครั้งสําคัญของความร่วมมือในการพัฒนาตลาดพันธบัตรของภูมิภาคอาเซียน+3

2) การให้ความเห็นชอบ การศึกษาความเป็นไปได้เรื่องการพัฒนาตลาดพันธบัตรเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Fostering Infrastructure Financing Bonds Development) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนด้านการเงินสําหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ซึ่งนายกิตติรัตนฯได้กล่าวสนับสนุนการศึกษาดังกล่าวโดยเห็นว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีความสําคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของภูมิภาคและในขณะนี้อาเซียน+3 มีเงินออมในภูมิภาคเป็นจํานวนมาก   จึงควรมีการหาแนวทางในการนําเงินออมเหล่านั้นมาลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศสมาชิก

5. ผลการศึกษาของคณะ Research Group ประจําปี 2012-2013

          ที่ประชุมได้รับทราบผลการศึกษาของคณะ Research Group ประจําปี 2012-2013 ได้แก่   เรื่องการพัฒนาโครงสร้างและเสริมสร้างประสิทธิภาพของหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือของภูมิภาคอาเซียน+3 และให้ความเห็นชอบหัวข้อการศึกษาของ Research Group ประจําปี 2013-2014 ได้แก่

1) การศึกษาเพื่อนําเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ในการพัฒนาตลาดการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (The Policy Recommendations for the Expansion of the Securitization Market in the ASEAN+3 Countries)

2) การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและภัยคุกคามของโครงสร้างตลาดทุนอาเซียน+3 (SWOT Analysis on Capital Market Infrastructure in ASEAN+3)

6. ความร่วมมือใหม่ 3 ด้านของอาเซียน+3 เพื่อขยายขอบข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาคในอนาคต

           ที่ประชุมได้รับทราบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษาความเป็นไปได้ ของความร่วมมือใหม่ 3 ด้านของอาเซียน+3 เพื่อขยายขอบข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาคในอนาคตได้แก่

(1) ความร่วมมือทางการเงิน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาค

(2) การใช้เงินสกุลของภูมิภาค (Regional Currencies) สําหรับ การค้าขายและการลงทุนในภูมิภาค

(3) การจัดตั้งกลไก/กองทุนการประกันภัยที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Disaster Insurance Scheme) ทั้งนี้คาดว่าจะมีข้อสรุปนโยบายความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องดังกล่าวได้ภายในปีนี้

7. การประชุม AFMGM+3 ครั้งต่อไป

           ที่ประชุมมีมติให้การประชุม AFMGM+3 ครั้งต่อไปในปี2014  จะจัดขึ้น ณ กรุงอัสตานา  ประเทศคาซัคสถาน โดยมีประเทศเมียนมาร์และประเทศญี่ปุ่นทําหน้าที่เป็นประธานร่วม

Resource from: 

6 May 2012 by Ministry of finance




วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Water shortage in HA NOI : ASEAN Urbanization

Water shortage hits suburban Ha Noi



A shortage of clean water has hit residents in many of Ha Noi's suburban districts, leaving them no choice but to spend over the odds on water or resort to using stagnant pond water.
In Thanh Oai District, residents in the communes of Tam Hung, Thanh Thuy and Xuan Duong have lost all access to tap-water.
Resident Luong Thanh Thuy told Gia dinh&Xa hoi (Family&Society) newspaper: "We have three sources of water, including drilled wells, rain water and pond water, but recently water in wells and ponds has reduced, so we do not know where we will get our water during the summer."


Thuy admitted that the water in the drilled wells has never been tested by specialist agencies.
Chairman of Tam Hung People's Committee Le Quang Phuc said a water supply station was built in the commune in 2005, but a pipe breakdown occurred after only four months and has yet to be repaired.
The committee called for residents to set up a repair fund, but nothing happened quickly and the damage kept worsening.
At present, some hundreds of millions of dong are needed to make the station operational again, but locals have not been able to find a source for this fund.


The water shortage is even more serious in Thach That District's Chang Son Commune.
Out of more than 2,100 households, two thirds are reliant on buying their clean water from street sellers.
Dinh Van Tien, a local resident, said that their main source of water used to be from wells, but recently the water has all dried up, even when they have drilled wells five metres in depth.
The work of clean water sellers is the most lucrative in the commune, with water selling at VND100,000 (US$4.7) per cubic metre.
"We do not know whether the water we are sold reaches regulated standards, but we buy it if it is pure, odourless and colourless," said Tien.
Chairman of the Chang Son People's Committee Phi Dinh Hung said water shortages first started afflicting the commune 10 years ago and have become more and more serious.
He cited the rise in population as one reason that water sources have been exhausted.
A project for the installation of a clean water pipe connecting Son Tay Town and neighbouring communes, including Chang Son, started in October 2006.
However work was temporarily halted to clear the way for construction of Highway 32, which took years to complete and damaged part of the still incomplete water system.

Resource from:



วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Thailand’s gross domestic product (GDP) 2013 growth forecast revised downward!


National Economic and Social Development Board lowers 2013 GDP projection to 4.2-5.2 per cent after 5.3% Q1 growth


Thailand’s gross domestic product (GDP) forecast is lowered from 4.5-5.5 per cent to 4.2-5.2 per cent due to the disappointing Q1 economic growth of 5.3 per cent, below the previously forecast 6-7 per cent, a senior official said today.
Arkhom Termpittayapaisith, secretary general of the Office of the Economic and Social Development Board (NESDB), said Thailand's Q1 economic expansion at 5.3 per cent this year is far below last year’s Q4 growth of 19.1 per cent.
Household spending increased by 4.2 per cent, a sharp drop from last year’s Q4 at 12.4 per cent while last year’s Q4 investment at 22.9 per cent dropped to only 6 per cent in Q1.
The Q1 export volume in dollars increased 4.5 per cent, almost half below the government’s 9 per cent target while the NESDB earlier forecast an 11 per cent growth, he said.
The export volume in baht increased by only 0.5 per cent given the surging Thai currency which has resulted in a Bt181 billion loss, he said, predicting Thailand’s export value to grow at only 7.6 per cent this year, much below the original 11 per cent forecast.
He called on the Bank of Thailand (BoT) to give more emphasis on stabilising the baht than concentrating on inflation.
Q1 inflation remained at 3.1 per cent and it should be around 2.3-3.3 per cent this year.



Mr Arkhom said the 'currency war' and unusual inflows of foreign capital are immediate problems that should be urgently addressed by the central bank, referring to the foreign capital inflow of US$4.5 billion in the past three quarters.
The capital inflow in Q1 was US$4.775 billion, higher than the annual average value at US$2.2 billion.
He said a reduced policy interest rate would be the best solution to deter foreign capital inflows and that the BoT should enforce appropriate measures to create awareness among foreign investors that Thailand is not a haven for baht speculation.
A predicted global economic expansion of only 3.6 per cent and the continued appreciation of the baht are volatile factors for Thailand’s exports, he said.

Resource from:


Full report :

http://www.nesdb.go.th/Portals/0/eco_datas/account/qgdp/data1_13/BookQGDP1-2013.pdf

The 2 nd ASIA Pacific Water Summit in Chiangmai, 20 May 2013

ASIA Pacific Water Summit 2013



CHIANG MAI (AFP) - Fierce competition for water could trigger conflict unless nations cooperate to share the diminishing resource, leaders from Asia-Pacific nations warned on Monday.
Prime Minister Yingluck delivered her opening remarks at the Second Asia Pacific Water Summit attended by leaders of nine countries and senior officials in the northern province of Chiang Mai this morning.

She said that Asia as a region has more natural disasters than other regions, and no country can handle a major crisis alone, so Asia Pacific countries should work together with sustainable water management system approaches such as preventing human activities which destroy natural resources, improving human access to clean water sources, and preparing for natural disasters.

Ms Yingluck urged all countries in the region to reduce the destruction of environment and prevent deforestation, as well as set up a warning system to reduce loss.

Without a comprehensive water management system, a 'war on water' could erupt, she warned.

The Thai premier also referred to Thailand's devastating 2011 floods which adversely affected the country's economic growth, publicly giving thanks to all parties in the country which helped Thailand went through the crisis.

She said Thailand's gross domestic product (GDP) was at 4.6 after the severe flooding and the government turned the crisis into an opportunity by investing Bt350 billion in water management projects.
From Central to South-east Asia, regional efforts to secure water have sparked tensions between neighbours reliant on rivers to sustain booming populations.
(From left) Georgia President Mikheil Saakachvili, Brunei Sultan Hassanal Bolkiah, Thai Prime Minister Yingluck Shinawatra, Fiji President Epeli Nailatikau and Bangladesh Prime Minister Sheikh Hasina pose for a photo at the 2nd Asia-Pacific water summit in Chiang Mai on Monday, May 20, 2013. Fierce competition for water could trigger conflict unless nations cooperate to share the diminishing resource, leaders from Asia-Pacific nations warned on Monday. -- PHOTO: AFP

Breakneck urbanisation, climate change and surging demand from agriculture have heaped pressure on scarce water supplies, while the majority of people in Asia-Pacific still lack access to safe water despite surging economic growth.
"There could be a fight over resources" unless countries agree to share water, Thailand's Prime Minister Yingluck Shinawatra said in an address to a regional water security forum in the northern Thai city of Chiang Mai.

Resource from: