Blogroll

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ตอนที่ 2 มหัศจรรย์ 130 ปีไปรษณีย์ไทย : Miracle of 130th anniversary of Thailand post ; เบื้องหลังความสำเร็จ และ มหัศจรรย์ของ ไปรษณีย์ไทย !

ตอนที่ 2 มหัศจรรย์ 130 ปี ไปรษณีย์ไทย :

 Miracle of 130th anniversary of Thailand post 

เบื้องหลังความสำเร็จ และ มหัศจรรย์ของ ไปรษณีย์ไทย !


การดำเนินงานในรูปแบบรัฐวิสาหกิจภายใต้ชื่อ "การสื่อสารแห่งประเทศไทย" ยังคงสืบสานเจตนารมณ์ที่จะทำให้การติดต่อสื่อสารทั้งไปรษณีย์และโทรคมนาคมของไทย มีความเจริญพัฒนาก้าวไกล มีส่วนเสริมสร้างเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของคนไทย โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขยังคงมีสถานะเป็นหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่ด้านนโยบาย และบริหารคลื่นความถี่วิทยุเช่นเดิม  การติดต่อสื่อสารทั้งไปรษณีย์และโทรคมนาคมของไทย มีความเจริญพัฒนาก้าวไกล มีส่วนเสริมสร้างเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของคนไทย โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขยังคงมีสถานะเป็นหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่ด้านนโยบาย และบริหารคลื่นความถี่วิทยุเช่นเดิม

ตลอดระยะเวลา 25 ปี ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม กสท. ไม่เคยหยุดนิ่งต่อการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สร้างระบบเชื่อมโยงเครือข่าย พัฒนาคุณภาพบริการสื่อสารทั้งด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม ดังคำขวัญที่ว่า "เครือข่ายทั่วไทย โยงใยทั่วโลก" และเพื่อรองรับความก้าวหน้าที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จึงเกิดอาคารสำนักงานใหญ่ที่ ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529
วันนี้กิจการไปรษณีย์ได้ก้าวมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งคือการแปลงสภาพการสื่อสารแห่งประเทศไทย มาจัดตั้งเป็นบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2546
นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของประวัติศาสตร์การไปรษณีย์อีกครั้งหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพนักงานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และร่วมมือกันอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อการปฏิรูปกิจการไปรษณีย์ นำสู่บริการที่ตอบสนองทุกความต้องการของประชาชน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน มีรายได้ที่เลี้ยงตัวเองเองได้ตลอดไป

เบื้องหลังแห่งความสำเร็จ ย้อนหลังไปไม่กี่ปี ใครจะไปกล้าคิดว่า ไปรษณีย์ไทยจะไม่ขาดทุน “ในชีวิตนี้อยากจะเห็นกิจการไปรษณีย์ไม่ขาดทุนสักครั้งหนึ่ง …” ธีระพงศ์ สุทธินนท์ ผู้ว่าการการสื่อสารแห่งประเทศไทยในสมัยนั้น ได้ประกาศตัวไว้ตั้งแต่ที่เขาเคยรับตำแหน่ง เมื่อตุลาคม 2542 ว่า เมื่อมีการแปลงสภาพ เขาสมัครใจที่จะไปอยู่บริษัทไปรษณีย์ไทย ที่เขาผูกพันและคลุกคลีมานาน ซึ่งเขาก็กลายเป็นซีอีโอคนแรกของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ภายใต้การบริหารงานของ ซีอีโอ คนนี้ นับตั้งแต่ 14 ส.ค. 2546 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาช่วงเวลาเกือบ 3 ปี ก่อนที่เขาจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2549 นั้น ไม่ทำให้คนไปรษณีย์ผิดหวัง นั่นเพราะเขาสามารถพลิกวิกฤติ กิจการไปรษณีย์ที่ขาดทุนต่อเนื่องมาสู่การสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองและมีกำไร โดยไม่ต้องพึงพาพี่เลี้ยงเหมือนเมื่อก่อน อีกต่อไป

....................................................................................

ธีระพงศ์ สุทธินนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทไปรษณีย์ไทย คนแรก
และผู้ว่าการการสื่อสารแห่งประเทศไทย คนสุดท้าย เริ่มทำงานครั้งแรกตั้งแต่เป็นกรมไปรษณีย์โทรเลข ในปี 2510 ก่อนที่จะมาเป็น กสท และแยกออกมา บริษัท ไปรษณีย์ จำกัด จนมาถึง 39 ปี ที่ได้ทำงานด้านไปรษณีย์เพียงอย่างเดียว แต่ผ่านมาแล้วถึง 3 สถานะ ตั้งแต่ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และเป็นลูกจ้างบริษัท ซึ่งเขาจะเป็นซีอีโอคนสุดท้าย ที่เป็นพนักงานเพราะทันที่ที่เขาเกษียณอายุ ซีอีโอคนใหม่ที่เข้ามาแทนที่จะมีสถานะเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน และมีสัญญาจ้างเป็นวาระ คราวละ 4 ปี

เขาทำอย่างไร?

หลังแยกตัวจาก กสท. ได้แค่ 4 เดือน กิจการ ปณท ยังคงประสบปัญหาขาดทุนกว่า 200 ล้านบาท ต่อเนื่องมาตั้งแต่ก่อนแยกตัว เพราะต้องแบกภาระเงินเดือนพนักงานที่เพิ่มขึ้นปีละ 4 - 5% รวมทั้งต้นทุนการขนส่ง และรายจ่ายอื่นๆ ที่ทยอยปรับราคาขึ้น “ตอนนั้นราคาค่าส่งเราถูกมาก เพราะตั้งใจจะให้เป็นบริการสาธารณะ แต่พบว่าลูกค้าที่ใช้บริการเป็นกลุ่มบริษัทเอกชน (ใช้บริการเพื่อส่งจดหมายธุรกิจ) ซึ่งรัฐไม่จำเป็นต้องลดราคาเพื่อแบ่งเบาภาระ ก็เลยปรับขึ้นมา” นโยบายปรับราคาแสตมป์จาก 2 บาทเป็น 3 บาท ทำให้รายได้รวมกระเตื้องขึ้นบ้าง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะพากิจการพ้นวิกฤติภาวะขาดทุน ต่อมาในปี 2547 ปณท ปรับอัตราค่าธรรมเนียม ทำให้การดำเนินงานและรายได้เปลี่ยนไปในแง่บวก ได้ผลกำไรเป็นครั้งแรกจำนวนกว่า 300 ล้านบาท หลังจากนั้น ไปรษณีย์ไทยก็สร้างกำไรเติบโตต่อเนื่องตลอดมา ปีถัดมา 2548 มีการเติบโตของกำไรอยู่ที่ 400 – 500 ล้านบาท ปี 2549 ได้กำไรเพิ่มเป็น 770 ล้านบาท ตัวเลขกำไรปี 2550 อยู่ที่ 1,305 ล้านบาท และในปี 2551 คาดว่าจะมีผลกำไรรวม 1,575 ล้าน
โดยรายงานผลประกอบการไปรษณีย์ไทยว่า ที่ผ่านมาธุรกิจสื่อสารสร้างรายได้มากถึง 85% แต่เริ่มปรับลดลงเหลือ 76% ในปัจจุบัน
ดังนั้น ไปรษณีย์ไทย จึงปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ เริ่มด้วย
1.การ “ลดภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ” ภายในองค์กร โดยขอความร่วมมือจากพนักงาน สามารถประหยัดรายจ่ายได้ในระดับหนึ่ง
2.เสริมระบบทำงานเดิมให้เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงการหา “ช่องทางธุรกิจ” อื่น ๆ

จุดแข็งของไปรษณีย์ไทยคืออะไร?

ก่อนจะตัดสินใจว่าจะพาธุรกิจไปทางไหน ไปรษณีย์ไทยต้องถามตัวเองชัด ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนแน่ใจว่าจุดแข็งของตนคืออะไร?
สิ่งที่ถูกค้นพบ คือ เครือข่ายที่ทำการไปรษณีย์ทุกหย่อมหญ้าทั่วประเทศ (นับพันสาขา) ... รวมทั้งคลังสินค้าขนาดยักษ์อีกทั่วประเทศ
ฐานความสัมพันธ์ที่กิจการไปรษณีย์ และบุรุษไปรษณีย์ได้เพียรสร้างอย่างสม่ำเสมอยาวนานเกิน 100 ปี เมื่อแนวโน้มการสื่อสารผ่านทางจดหมายลดลง แต่ความต้องการด้านอื่นยังสดใส ไฉนเลย ปณท จะนิ่งเฉยเมินโอกาส




หัวใจคือการพัฒนาธุรกิจ?

แม้แนวโน้มการติดต่อสื่อสารทางไปรษณีย์ (ซึ่งเป็นรายได้หลักของปณท.) จะลดน้อยถอยลงไปทุกวัน (จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างอีเมล์ หรือข้อความสั้นทางมือถือ รวมทั้งการพูดคุยกันได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านโทรศัพท์มือถือที่ค่าบริการไม่แพงนัก) “การปรับรูปแบบการทำงานต้องให้ทันต่อยุคสมัย เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อวิถีชีวิต ในปัจจุบันกิจการไปรษณีย์ก็ได้รับผลกระทบโดยตรงเช่นกัน” กรรมการผู้จัดการคนแรกเล่า
กรณีที่เด่นชัดที่สุด คงเป็นเรื่องการส่งจดหมายที่เคยเป็นรายได้หลัก ค่อยๆ ลดบทบาทลง เพราะผู้ใช้เปลี่ยนไปส่งจดหมายอีเมล์แทน ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อไปถึงรายได้จากแสตมป์ เมื่อไม่มีผู้ใช้จดหมาย ก็ไม่มีใครซื้อแสตมป์ การขายดวงตราไปรษณีย์จึงเป็นไปในลักษณะของสะสมถึงประมาณร้อยละ 80 ทีเดียว เมื่อ รายได้จากผู้ใช้บริการงานสื่อสารของ ปณท ลดลง
ไปรษณีย์ไทยก็ไม่อยู่เฉย พยายามออกสินค้าและบริการที่ดีขึ้นอันได้ทำเองให้ดีได้ก็ทำ ถ้ามีคนทำเก่งอยู่แล้วในตลาด ก็ร่วมเป็นพันธมิตรกับเขา



ยกตัวอย่างเช่น “บริการไปรษณีย์ด่วน” (EMS)
หลังจากแยกตัวเป็นบริษัทได้ไม่นาน ไปรษณีย์ไทยก็ลงทุน “ระบบติดตาม” (Track & Trace) เพื่อให้สามารถรู้ได้ทันที ว่าจดหมายหรือพัสดุที่ส่งไปนั้น เดินทางไปถึงตรงไหนแล้ว ทัดเทียมกับผู้ให้บริการชั้นนำของโลก ตรงนั้นก็ทำให้รายได้จากธุรกิจสื่อสารเพิ่มขึ้นมาได้ ในขณะเดียวกัน การส่งพัสดุและบริการทางการเงินในรูปแบบออนไลน์กลับได้รับความ นิยม ไปรษณีย์ไทย จึงเห็นช่องทางดำเนินงาน ที่สามารถสร้างความก้าวหน้าให้กับองค์กรได้ จึงเริ่มศึกษาเกี่ยวกับระบบจัดการการขนส่ง ให้สามารถรองรับการส่งสินค้าขนาดใหญ่ขึ้นได้ พัฒนาเพิ่มน้ำหนักบริการส่งพัสดุไปรษณีย์จากเดิมส่งได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัม ให้สามารถส่งของหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม โดยทั้งหมดยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา อย่างไรก็ตาม ปณท.กำลังเจรจากับกรมการขนส่งทางบก เกี่ยวกับธุรกิจด้านการจัดการระบบขนส่งร่วมกัน ตั้งศูนย์ไปรษณีย์ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่ง และอำนวยความสะดวกเก็บสินค้าให้กับภาคธุรกิจขนส่งรายย่อยตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ โดยจังหวัดขอนแก่นเป็นพื้นที่เป้าหมายแห่งแรกที่สนใจ เพราะภาคอีสานมีอัตราการขนส่งสูงเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น หากการดำเนินงานโครงการขนส่งที่จังหวัดขอนแก่นเป็นไปด้วยดี ก็จะขยายโครงการสู่พื้นที่อื่นต่อไป เพราะได้เปรียบในการเข้าถึงลูกค้าได้ทุกครัวเรือนในประเทศไทย ... อย่างที่ไม่มีใครทำได้เสมอเหมือน

ตีพิมพ์ ปี 2551 (แต่เป็นการวิเคราะห์เบื้องหลังสำเร็จ)

Resource from :

http://www.brandage.com/Modules/DesktopModules/Article/ArticleDetail.aspx?tabID=2&ArticleID=1458&ModuleID=21&GroupID=474

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น